top of page
  • ออดี้ ไรเดอร์

รัวิว หนัง A Beautiful Mind ผู้ชายหลายมิติ 2001


A Beautiful Mind ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมเมื่อปี 2002 รวมผู้กำกับ (รอน ฮาวเวิร์ด) ผู้แสดงประกอบหญิง และบทภาพยนตร์ ซึ่งสะท้อนความเป็นมนุษย์บางมิติได้อย่างยอดเยี่ยม มนุษย์ที่ดูยิ่งใหญ่ทางความคิดและเหตุผล แต่เปราะบางทางอารมณ์และความรู้สึกยิ่งนัก สามารถแก้สมการคณิตศาสตร์อันซับซ้อนได้ แต่แก้สมการชีวิตของตนเองไม่ได้ ข้อสรุปอันเป็นที่สุดของเรื่องอยู่ที่ฉากสุดท้าย ในคำกล่าวสั้นๆ แต่กินใจอย่างยิ่งของจอห์น แนช (รัสเซล โครว์)จากเวทีที่เขาขึ้นไปรับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์เมื่อปี 1คุกคาม994 หนังเรื่องนี้ดัดแปลงจากชีวิตจริงของศาสตราจารย์ จอห์น แนช อัจฉริยะทางคณิตศาสตร์ชาวอเมริกันซึ่งมีปัญหาทางจิตตั้งแต่เรียนอยู่ที่มหาวิทยาลัยปรินซตัน แต่เพราะเขาเป็นอัจฉริยะ แม้จะมีพฤติกรรมแปลกๆ ใครๆ ก็นึกว่า นั่นคือลักษณะพิเศษของอัจฉริยะ ไม่ได้คิดว่านั่นคือโรคจิตเสื่อมที่กำลัง


ปัญหาในการสัมพันธ์กับคนอื่น เขาเล่าให้เพื่อนฟังว่า “ครูบอกว่า ผมมีสมองโตกว่าคนอื่นสองเท่า แต่มีหัวใจแค่ครึ่งเดียว” เขาพูดเองว่า “ผมไม่ค่อยชอบคนอื่น และคนอื่นก็คงไม่ชอบผมเหมือนกัน” เขามี IQ ระดับอัจฉริยะ แต่ EQ ระดับบกพร่องถึงขั้นผิดปกติอันเนื่องเพราะเขามีปัญหาทางจิตนั่นเองโรคจิตเสื่อม (schyzophrenia) มีอาการหลายอย่าง อย่างหนึ่งที่เป็นกันมาก คือ การเห็นภาพหลอน รวมทั้งการคิดเอาเองว่ามีคนตามฆ่าตามทำร้าย เห็นอะไรเห็นใครก็ระแวงไปหมด (paranoid) คนที่มีปัญหาทางจิตแบบนี้จึงมักเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่คบหาสมาคมกับใคร อยู่ในโลกของตัวเองที่เชื่อว่าเป็นจริงภาษาของหนังเป็นอีกภาษาหนึ่งที่พยายามนำเอาภาพหลอนและอาการทางจิตของอัจฉริยะผู้นี้ออกมาเป็นเรื่องราวที่ดูตื่นเต้นชวนติดตามจนคนดูตอนแรกๆ เชื่อสนิทว่านั่นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ ใครจะไปคิดว่า เพื่อนร่วมห้องของเขาที่มหาวิทยาลัยที่แท้ก็เป็นภาพหลอน ซึ่งจะหลอกหลอนเขาไปจนหนังจบ ไม่ทราบว่า วันนี้ปีนี้มันยังมาหลอนอยู่อีกหรือเปล่าจอห์น แนช คงเป็นเด็กฉลาดมากกว่าเด็กทั่วไปจึงสามารถสอบชิงทุนเข้าเรียนที่ปรินซ์ตันได้ แต่เขาคงมีปัญหาบางอย่างตั้งแต่วัยเด็ก มี


เขาต้องพูดคุยโต้ตอบกับบุคคลในภาพหลอนเหล่านี้ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมห้องและหลานของเขาและสายลับที่นำเขาเข้าไปรับงานราชการลับด้านความมั่นคง จนกระทั่งเมื่อเขาได้รับการเยียวยารักษา อาการก็เริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ ภาพเหล่านี้ก็ค่อยๆ หายไป แต่ก็กลับมาอีกเมื่อเขาเลิกกินยา และเกิดความเครียดเขาเอาชนะได้จริงๆ ไม่ใช่เมื่อเขากำจัดภาพนั้นให้หมดไป แต่ปล่อยให้มันอยู่หรืออยู่ร่วมกับมันโดยไม่พูดคุยหรือแยแสกับบุคคลอันเป็นภาพหลอนเหล่านั้นอีกต่อไป ไม่ว่ามันจะติดตามเขาไปถึงไหน เขาสรุปได้น่าฟังว่า ภาพหลอนเหล่านั้นก็เหมือนความคิดมากมายในตัวเราที่เราเลือกได้ว่าจะสนใจกับความคิดไหน อันไหนที่มารบกวนและสร้างปัญหาก็ไม่ต้องไปสนใจมัน ก็แค่นั้นเองแต่กว่าจะถึงขั้นนั้นได้ชีวิตก็เกือบจะอับปางหรือแทบจะต้องไปจบในโรงพยาบาลบ้าตลอดชีวิต โชคดีที่เขากลับมาได้ แม้จะไม่สมบูรณ์เหมือนเดิม หนังพยายามบอกว่า คนคนหนึ่งที่ช่วยให้เขากลับมาเหมือนเดิมได้ คือภรรยาของเขาเองอลิเชีย (เจนนิเฟอร์ คอนเนลลี) เป็นลูกศิษย์ของศาสตราจารย์แนช ฉากแรกก็แสดงให้เห็นความแตกต่างของการแก้ปัญหา พออาจารย์เดินเข้าไปในห้องก็ได้ยินเสียงคนงานกำลังเจาะถนนข้างล่าง ดังหนวกหูมาก เขาเดินไปปิดหน้าต่าง นักศึกษาคนหนึ่งขอร้องว่า เปิดสักบานจะได้ไหมครับอาจารย์ อากาศร้อนมาก เขาตอบว่า ร้อนยังดีกว่าฟังเขาไม่ได้ยินจิตแพทย์บอกว่า สิ่งที่เจ็บปวดและยากลำบากที่สุดสำหรับผู้ป่วยโรคจิตเสื่อมประเภทนี้ คือการที่ต้องยอมรับว่า สิ่งที่พวกเขาเห็นนั้นไม่มีจริงและไม่เคยมีอยู่ เมื่อเริ่มจับประเด็นได้ จอห์น แนช ยืนยันอย่างหนักแน่นว่า เขาจะต้องแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างแน่นอน

เพียงแต่ต้องการเวลาเท่านั้นฉากประทับใจที่สุดของหนังเรื่องนี้อยู่ในช่วงนี้ที่ภรรยาของเขาตัดสินใจที่จะช่วยเขาให้ถึงที่สุด โดยร่วมมือกับหมอ พยายามหา “หลักฐาน” มายืนยันให้ได้ว่า ภาพทั้งหมดที่เขาเห็นล้วนเป็นภาพหลอน และที่สำคัญ เธอจะต้องเข้าใจเขาให้มากขึ้น หนังบอกเรื่องนี้อย่างนุ่มนวลและเป็นมนุษย์อย่างยิ่งเขานั่งอยู่บนเตียง เธอยืนอยู่ที่ประตูแล้วค่อยๆ เดินเข้าไปหา เธอถามเขาว่า อยากรู้ไหมว่าอะไรจริง (What is real?) พลางคุกเข่าลง เอามือขวาจับที่แก้มของเขา เอามือซ้ายของตนเองจับมือขวาของเขามาแนบที่แก้มของเธอ ลดมือของเธอลงมาที่หน้าอกของเขา ตรงหัวใจ และจับมือของเขาลงมาไว้ที่หน้าอกตรงหัวใจของเธอพร้อมกับพูดว่า “นี่ไงที่เป็นจริง”แล้วเธอก็บอกต่อไปว่า “บางทีส่วนที่สั่งให้คุณตื่นจากความฝันมันอาจไม่ได้อยู่ที่นี่ (พลางจับที่ศีรษะ) แต่อยู่ที่นี่ (จับที่หน้าอก) ฉันต้องเชื่อว่าปาฏิหาริย์เกิดขึ้นได้”



ความพยายามของทั้งสอง รวมทั้งความช่วยเหลือจากเพื่อนเก่า ที่เป็นทั้งเพื่อนและคู่แข่ง ซึ่งกลายเป็นศาสตราจารย์ที่ปรินซ์ตัน ทำให้เขาได้กลับไปช่วยสอนที่นั่น และค่อยๆ คืนสภาพปกติ แม้ว่าจะยังเห็นภาพหลอนอยู่เป็นครั้งคราว แต่เขาก็ไม่ใส่ใจกับมันอีกต่อไป เขาได้รับการยอมรับที่ปรินซ์ตันจากคณาจารย์ และได้รับรางวัลโนเบลจากทฤษฎีสมดุลระบบ (governing dynamics) ซึ่งเขาพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่เป็นนักศึกษาที่ปรินซ์ตันทฤษฎีนี้เป็นวิธีการที่ทำให้เกิดผลลัพธ์แบบได้กันทุกฝ่าย หรือ win-win ซึ่งไปหักล้างทฤษฎีของอาดัม สมิธ ที่บอกว่า ผลลัพธ์ดีที่สุดมาจากการที่แต่ละคนทำดีที่สุดเพื่อตัวเอง เขาบอกว่า ผลลัพธ์ดีที่สุดมาจากการที่ทุกคนในกลุ่มทำดีที่สุดเพื่อตัวเองและเพื่อกลุ่ม ทฤษฎีนี้มีอิทธิพลต่อการเจรจาการค้า แรงงานสัมพันธ์ หรือแม้กระทั่งชีววิทยาพัฒนาการ ฉากสุดท้ายเป็นสุนทรพจน์สั้นๆ ที่กินใจ เป็นคำสารภาพของคนที่ดูยิ่งใหญ่อัจฉริยะ แต่มีผู้อยู่เบื้องหลังที่ยิ่งใหญ่กว่า คนคนนั้นคือ A Beautiful Mind ตัวจริง

ติดตามรีวิวภาพยนตร์ ได้ที่ : movieup2you.com

ติมตามเพจได้ที่ : มูฟวี่ Up2You

bottom of page